วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สารบอแรกซ์คืออะไร

ปัจจุบันสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งสารกันรา สารฟอกขาว สารเร่งเนื้อแดง สารฟอร์มาลิน เป็นต้น แต่มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่ยังคงพบมากในอาหารหลายประเภท ได้แก่ สาร
บอแรกซ์ ซึ่งสารนี้เป็นสารปนเปื้อนที่ถูกนำมาผสมลงในอาหารที่พบได้ในปริมาณสูง และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่อผู้บริโภค





สารบอแรกซ์ (Borax) เป็นสารอนินทรีย์มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียม เตตราบอเรต (Sodium
tetraborate) คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ หรือผงเนื้อนิ่ม ซึ่ง
สารนี้มีลักษณะเป็นผลึกสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สีขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น โดยทั่วไปแล้วสารบอแรกซ์เป็นสารที่ถูนำไปใช้
ในอุตสาหกรรม เช่น ทำแก้ว เพื่อให้ทนต่อความร้อน หรือใช้เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง รวมทั้งใชในเครื่องสำอางเพื่อเป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น




คุณสมบัติทางเคมีของบอแร็กซ์



·      บอแร็กซ์ (Borax) เป็นสารเคมีที่เป็นเกลือของสารประกอบโบรอน มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมบอเรต (Sodium borate)
·      โซเดียมเตตราบอเรต (Sodium tetraborate)
·      โซเดียมไบบอเรต (Sodium biborate)
·      โซเดียมพัยโรบอเรต (Sodium pyroborate)
·      โซดียม เตตราบอเรต เดคาไฮเดรท (Sodium tetraborate decahydrate)
·      ไดโซเดียม เตตราบอเรต เดคาไฮเดรท (Disodium tetraborate decahydrate)
·      มีสูตรทางเคมีว่า Na2B4O7:10H2O มีนำหนักโมเลกุล 381.4 มีลักษณะไม่มีกลิ่นเป็นผลึก ละเอียด หรือผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ไม่ละลายในแอลกอฮอล 95%
·     บอแร็กซ์ มีชื่ออื่นๆ ทางการค้าว่า น้ำประสานทอง ผงกรอบ ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก ผงกันบูด และเพ่งแซ

แหล่งที่พบ



บอแร็กซ์ เป็นสารเคมีที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้ว เพื่อช่วยให้เกิดความเหนียวแข็งแรง ใช้เป็นส่วนผสมในการฉาบภาชนะเครื่องเคลือบดินเผา ให้มีความมันและแวววาว ใช้ในเครื่องสำอาง เป็นวัตถุกันเสียช่วยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว ใช้ในทางยา เป็นยาฝาดสมาน (Astringent) ใช้เป็นส่วนผสมในยาทารักษาโรคผิวหนัง ยาฆ่าเชื้อโรค ยากลั้วคอ ยาล้างตา นอกจากนี้ ยังใช้เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ใช้เป็นยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อราเพื่อรักษาเนื้อไม้ ยากำจัดตะไคร่น้ำในสระว่ายน้ำ ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้ชุบ และเคลือบโลหะ ใช้ในการผลิตถ่านไฟฉาย ใช้ทำสบู่ น้ำยาดัดผม ทำปุ๋ย ฯลฯ

เนื่องจากสารบอแร็กซ์ มีคุณสมบัติทำให้เกิดสารประกอบเชิงซ้อน (Complex compound) กับสารประกอบอินทรีย์โพลีไฮดรอกซี่ (Organic polyhydroxy compound) ทำให้เกิดลักษณะหยุ่น กรอบ และยังมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสีย จึงทำให้เกิดการนำเอาสารบอแร็กซ์ผสมลงไปในลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน ไส้กรอก แป้งกรุบ ลอดช่อง ผงวุ้น ทับทิมกรอบ มะม่วงดอง ผักกาดดอง ผักกาดเค็ม เพื่อให้อาหารเหล่นนั้น มีลักษณะกรอบ แข็ง คงตัวอยู่ได้นาน และยังพบว่า มีการนำเอาสารบอแร็กซ์ไปละลายน้ำ แล้วทาหรือชุบลงในเนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสดตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังใช้ปลอมปนในผงชูรส เนื่องจากบอแร็กซ์มีลักษณะภายนอกเป็นผลึกคล้ายคลึงกับผลึกของผงชูรส


กลไกการเกิดพิษของบอแร็กซ์


สารประกอบโบรอนที่นิยมใช้กันมาก คือ กรดบอริค (Boric Acid) และบอแร็กซ์ (Borax) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ได้รับเป็นประจำได้ พิษของบอแร็กซ์ มีผลต่อเซลล์ของร่างกายเกือบทั้งหมด เมื่อร่างกายได้รับเข้าไป ทำให้เกิดความผิดปกติ รุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของบอแร็กซ์ ที่ร่างกายได้รับ และเกิดการสะสมในอวัยวะนั้น โดยเฉพาะไต เป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อาการจะปรากฏให้เห็นภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนกระเพาะอาหาร และลำไส้ จะอักเสบ ตับถูกทำลาย สมองบวมช้ำ และมีการคั่งของเลือด อาการทั่วไป มีไข้ ผิวหนังมีลักษณะแตกเป็นแผล บวมแดงคล้ายถูกน้ำร้อนลวก อาจมีปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ออกเลย เนื่องจากสมรรถภาพการทำงานของไตล้มเหลว
สารประกอบโบรอนที่เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน จะถูกดูดซึมได้เกือบทั้งหมดจากทางเดินอาหาร ส่วนกลไกทางชีวเคมีในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการพิษนั้น พบว่าบอแร็กซ์ที่รับประทานเข้าไปนั้น ไปสะสมในสมองส่วนกลาง (Central Nervous System) และไปลด Oxygen uptake , Ammonia Formation , Glutamic Synthetic และ Oxidation ของAdrenalin บอแร็กซ์นั้นมีพิษต่อเซลลืของร่างกายเกือบทั้งหมด และมีผลโดยตรงต่ออวัยวะของร่างกาย บอแร็กซ์จะถูกขับผ่านไตออกมากับปัสสาวะ มีส่วนน้อยเท่านั้น ที่ขับออกมากับเหงื่อ ส่วนที่ถูกขับทิ้งผ่านไตนั้น จะใช้เวลาหลายวัน กว่าจะขับถ่ายหมด ถึงแม้จะได้รับสารประกอบโบรอนเข้าไปเพียงครั้งเดียว โดยจะขับถ่ายได้มากที่สุดในช่วง 2 – 3 วันแรก และขับถ่ายออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้ช้ามากกว่า 7 วัน
ในกรณีที่ได้รับสารประกอบโบรอนครั้งเดียว จำนวนมากๆ หรือได้รับติดต่อกันหลายครั้ง จะพบการสะสมของโบรอนได้ในสมองและตับ ระบบประสาทส่วนกลางถูกรบกวน (Central Nervous System Irritation) สมองบวมช้ำ มีการคั่งของโลหิต ตับถูกทำลาย

อาการเป็นพิษของบอแร็กซ์



การที่ได้รับสารบอแร็กซ์ในปริมาณมากๆ ในคน จะมีอาการเฉียบพลันเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

-คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ลำไส้ และกระเพาะอาหาร เกิดการระคายเคือง อุจจาระร่วง บางครั้ง อาจมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
-อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด มีอาการทางประสาท อาจชัก หมดสติได้ เนื่องจากประสาทส่วนกลางถูกกด และตายได้
-ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง คัน ผมร่วง
-หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง อาจมีอาการช๊อค (Shock) หมดสติได้
-ตับ และไต อักเสบ ปัสสาวะน้อย จนกระทั่ง ไม่มีปัสสาวะ
ในกรณีที่ได้รับสารบอแร็กซ์ในปริมาณไม่มาก และได้รับบ่อยๆ เป็นเวลานานๆ จะมีอาการเรื้อรัง เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้
-อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ปากเปื่อย เยื่อเมือกภายในปากแห้ง
-ผิวหนังแห้ง อักเสบ เป็นผื่นแดง คัน ผมร่วง
-หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ
-ระบบสืบพันธ์เสื่อมสรรถภาพ
-ตับ และไต อักเสบ ปัสสาวะน้อย จนกระทั่งไม่มีปัสสาวะ

ขนาดของบอแร็กซ์ที่เป็นอันตราย    
     ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ 5 – 10 กรัม ในผู้ใหญ่  ขนาดที่ทำให้ตาย 15 – 30กรัม ในผู้ใหญ่       ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ และตาย 4.5 – 14 กรัม  ในเด็ก การตายจะเกิดขึ้น ภายใน1– 3 วัน

การขับถ่ายบอแร็กซ์ออกจากร่างกาย
บอแร็กซ์ที่เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานนั้น จะถูกดูดซึมได้เกือบทั้งหมด ที่ทางเดินอาหาร การขับถ่ายส่วนใหญ่ ผ่านทางไต ออกมากับปัสสาวะ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ออกมากับเหงื่อ ปริมาณครึ่งหนึ่งของบอแร็กซ์ ที่ร่างกายได้รับ จะถูกขับออกมากับปัสสาวะ ภายในเวลา 12 ชั่วโมงแรก จากนั้น ในช่วง 2 – 3 วันแรก จะถูกขับออกมาได้มากที่สุด และใช้เวลานานกว่า 7 วัน จึงจะขับถ่ายออกหมด ถึงแม้ว่าจะได้รับสารประกอบโบรอน (บอแร็กซ์) เข้าไปเพียงครั้งเดียวก็ตาม และจะตรวจพบโบรอนในปัสสาวะ โดยวิธีทดสอบ ด้วยกระดาษขมิ้น ซึ่งเป็นการตรวจทางคุณภาพ

การแก้พิษเมื่อได้รับบอแร็กซ์ในปริมาณสูงเข้าสู่ร่างกาย
·       การขับไล่บอแร็กซ์ออกจากทางเดินอาหาร โดยการล้างท้อง หรือทำให้อาเจียน
·       ถ้าล้างท้องไม่ทัน เพิ่มการขับถ่ายโดยวิธี Diuresis ก่อนที่จะมีการทำลาย renal tubular epithelium โดยใช้ 0.45 % saline in D5W iv พร้อมกับ diuretic และอาจใช้ peritoneal dialysis และ hemodialysis กำจัด borax ออกจากกระแสโลหิตของร่างกาย
·  ยังไม่มี antidote ที่เหมาะสม แต่ถ้าผู้ป่วย shock ให้ isotonic fluidเข้าทางร่างกาย ถ้าผู้ป่วยชัก (seizure) ให้diazepam iv ทางผิวหนังให้ระวัง secondary infection โดยล้างด้วยสบู่อ่อน ถ้าเข้าตา ให้ล้างตา และให้ผู้ป่วยได้รับอากาศบริสุทธิ์โดยนำไปสู่ที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี

สารบอแรกซ์เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหารและการลักลอบนำสารบอแรกซ์ใส่ในอาหาร


สารบอแรกซ์เป็นวัตถุที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศห้ามใช้ในอาหารมาตั้งแต่ปี.. 2536 โดยให้ถือว่า อาหารที่มีส่วนผสมของสารบอแรกซ์ปนเปื้อนอยู่นั้น เป็นอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้

การลักลอบนำสารบอแรกซ์ใส่ในอาหาร



ปัจจุบันผู้ผลิตอาหารและผู้ประกอบการบางรายได้ลักลอบนำสารบอแรกซ์มาผสมลงในอาหารเพื่อให้อาหารมีความเหนียว หยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน และไม่บูดเสียง่าย นอกจากนี้แม่ค้าหรือพ่อค้ายังนำสารบอแรกซ์มาใช้ทาหรือชุบเนื้อหมู เนื้อวัวเพื่อทำให้ดูสดยิ่งขึ้น ซึ่งอาหารส่วนใหญ่ที่พบว่ามีการเจือปนของสารบอแรกซ์ ได้แก่ เนื้อบด หมูบด ลูกชิ้นปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ และในขนมหวานต่าง ๆ เช่น ทับทิมกรอบ รวมมิตร วุ้น รวมถึงผลไม้ นอกจากนี้แล้ว สารบอแรกซ์ยังถูกนำไปใช้ในการปลอมปนในผงชูรสที่ตักแบ่งขายอีกด้วย

โทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนที่นำสารบอแรกซ์ใส่ในอาหาร



ผู้ผลิตหรือจำหน่ายอาหารที่ปนเปื้อนสารบอแรกซ์ถือเป็นการฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติอาหาร.. 2522 โดยให้ถือว่า ทำการผลิตหรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อสังเกตในการเลือกซื้ออาหารที่ปราศจากสารบอแรกซ์สำหรับผู้บริโภค

     ·  ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการซื้อเนื้อหมูที่ผิดปกติจากธรรมชาติ เช่น เนื้อหมูที่แข็ง กดแล้วเด้ง หรือมีผิวเป็นเงาเคลือบ
     ·  ไม่ควรซื้อหมูบดที่สำเร็จรูป ควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาล้างให้สะอาด โดยนำมาบดหรือสับเอง
     · หลีกเลี่ยงอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ