วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลไกการเกิดพิษของบอแร็กซ์


สารประกอบโบรอนที่นิยมใช้กันมาก คือ กรดบอริค (Boric Acid) และบอแร็กซ์ (Borax) ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่ได้รับเป็นประจำได้ พิษของบอแร็กซ์ มีผลต่อเซลล์ของร่างกายเกือบทั้งหมด เมื่อร่างกายได้รับเข้าไป ทำให้เกิดความผิดปกติ รุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของบอแร็กซ์ ที่ร่างกายได้รับ และเกิดการสะสมในอวัยวะนั้น โดยเฉพาะไต เป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อาการจะปรากฏให้เห็นภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนกระเพาะอาหาร และลำไส้ จะอักเสบ ตับถูกทำลาย สมองบวมช้ำ และมีการคั่งของเลือด อาการทั่วไป มีไข้ ผิวหนังมีลักษณะแตกเป็นแผล บวมแดงคล้ายถูกน้ำร้อนลวก อาจมีปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ออกเลย เนื่องจากสมรรถภาพการทำงานของไตล้มเหลว
สารประกอบโบรอนที่เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน จะถูกดูดซึมได้เกือบทั้งหมดจากทางเดินอาหาร ส่วนกลไกทางชีวเคมีในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการพิษนั้น พบว่าบอแร็กซ์ที่รับประทานเข้าไปนั้น ไปสะสมในสมองส่วนกลาง (Central Nervous System) และไปลด Oxygen uptake , Ammonia Formation , Glutamic Synthetic และ Oxidation ของAdrenalin บอแร็กซ์นั้นมีพิษต่อเซลลืของร่างกายเกือบทั้งหมด และมีผลโดยตรงต่ออวัยวะของร่างกาย บอแร็กซ์จะถูกขับผ่านไตออกมากับปัสสาวะ มีส่วนน้อยเท่านั้น ที่ขับออกมากับเหงื่อ ส่วนที่ถูกขับทิ้งผ่านไตนั้น จะใช้เวลาหลายวัน กว่าจะขับถ่ายหมด ถึงแม้จะได้รับสารประกอบโบรอนเข้าไปเพียงครั้งเดียว โดยจะขับถ่ายได้มากที่สุดในช่วง 2 – 3 วันแรก และขับถ่ายออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้ช้ามากกว่า 7 วัน
ในกรณีที่ได้รับสารประกอบโบรอนครั้งเดียว จำนวนมากๆ หรือได้รับติดต่อกันหลายครั้ง จะพบการสะสมของโบรอนได้ในสมองและตับ ระบบประสาทส่วนกลางถูกรบกวน (Central Nervous System Irritation) สมองบวมช้ำ มีการคั่งของโลหิต ตับถูกทำลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น